เดือน: กุมภาพันธ์ 2016

ประวัติน่ารู้เกี่ยวกับ “เพลงชาติไทย” ความเป็นของเพลงชาติไทย

ประวัติน่ารู้เกี่ยวกับ “เพลงชาติไทย” ความเป็นของเพลงชาติไทย

ประวัติและความเป็นมา

ในช่วงที่ประเทศไทยนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงจากชื่อสยามประเทศ เป็นชื่อประเทศไทยในปัจจุบันหรือ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2475 นั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในประเทศของเราเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เพลงชาติไทย” ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการประพันธ์ทั้งบทคำร้องและทำนองของเพลงชาติไทยขึ้นใช้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยขึ้นมาใหม่ ซึ่งบทประพันธ์แรกนั้นแต่งขึ้นโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) แทนการใช้บทเพลงสรรเสริญพระบารมี ที่เดิมใช้เป็นเพลงชาติไทยในอดีต

music-thailand-note3

จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2482 หรือตลอดระยะเวลากว่า 7 ปี ที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาและทำนองเพลงชาติไทยเพื่อให้มีความสมบูรณ์อยู่หลายครั้ง เนื้อเพลงชาติไทยมีความเสร็จสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และก็เป็นฉบับเดียวกันกับเพลงชาติไทยที่เราใช้กันในปัจจุบัน โดยทำนองเพลงนั้นมีการประพันธ์ขึ้นโดยหนึ่งในบุคคลสำคัญของชาวไทยทุกคน และเป็นที่รู้จักกันนั้นคือ พระเจนดุริยางค์ บุคคลซึ่งเรียกได้ว่าเป็นทั้งผู้ริเริ่มและปฏิวัติวงการดนตรีไทยเป็นอย่างมาก และเป็นผู้แรกที่มีการวางรากฐาน ทั้งวงดุริยางค์ทหารอากาศและดุริยางค์ตำรวจไทย

s750_1

เพลงชาติไทย มีเนื้อหาและทำนองเพลงที่ไพเราะและเปี่ยมไปด้วยความหมายที่แอบแฝงอยู่ในบทเพลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการปลูกฝังให้คนไทยทุกคนนั้นตระหนักถึงคุณค่าและความตั้งใจของบรรพบุรุษที่ได้รักษาเอาไว้ให้ลูกหลานได้อยู่อาศัย และความเป็นเอกราชของไทยอีกด้วย

flag

ถึงแม้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาภายหลังปี พ.ศ. 2482 นั้นจะมีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงเนื้อหาและทำนองเพลงชาติไทยกันอยู่หลายครั้ง แต่สุดท้ายแล้วก็มีความเห็นจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมถึงประชาชนคนไทยที่เห็นตรงกันว่า เนื้อเพลงและทำนองของเพลงชาติไทยเวอร์ชั่นเก่านั้นมีความเหมาะสมและมีความหมายที่ดีอยู่ก่อนแล้ว จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเนื้อหาและทำนองเพลงขึ้นใหม่แต่อย่างใด

thai-flags

เนื้อเพลงชาติไทย

ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทยเป็นประชารัฐ …ไผทของไทยทุกส่วนอยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวลด้วยไทยล้วนหมาย…. รักสามัคคีไทยนี้รักสงบ… แต่ถึงรบไม่ขลาดเอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลีเถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย

เพลงชาติไทย (ออนไลน์)

 

ที่มา: